Close

AAS Auto Service Co., Ltd.

Porsche | Bentley | Autoglym | Ulgo | Fenix

Search
Close this search box.

นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ

    บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด (“บริษัท” หรือ “กิจการ”) และบริษัทย่อย จะดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการและแนวทางปฏิบัติของ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความโปร่งใสและประสิทธิผลในการบริหารงาน และก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีฉบับนี้ขึ้น โดยได้เผยแพร่ให้บุคลากรของบริษัทนำไปปฏิบัติต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หลักปฏิบัติ 1        ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 2        กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน

หลักปฏิบัติ 3        เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล

หลักปฏิบัติ 4        สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร

หลักปฏิบัติ 5        ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

หลักปฏิบัติ 6        ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม

หลักปฏิบัติ 7        รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล

หลักปฏิบัติ 8        สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

1.1 คณะกรรมการบริษัทจะทำความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่ต้องกำกับดูแลให้บริษัทมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง

       (1) การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

       (2) การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายการดำเนินงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรสำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
       (3) การติดตาม ประเมินผล และดูแลการรายงานผลการดำเนินงาน

1.2 ในการสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน คณะกรรมการบริษัทจะกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผล (Governance Outcome) อย่างน้อยดังต่อไปนี้

       (1) สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดี โดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว (Competitiveness and Performance with Long-Term Perspective)

       (2) ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย (Ethical and Responsible Business)

       (3) เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม (Good Corporate Citizenship)

       (4) สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง (Corporate Resilience)

แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ

        1.2.1 ในการกำหนดความสำเร็จของการดำเนินกิจการ คณะกรรมการบริษัทจะคำนึงถึงจริยธรรม ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ นอกเหนือจากผลประกอบการ
                  ทางการเงิน

        1.2.2 คณะกรรมการบริษัทจะสร้างและขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรม โดยคณะกรรมการบริษัทจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างในฐานะผู้นำในการกำกับดูแลกิจการ
                  ยึดมั่นในค่านิยม จริยธรรมองค์กร มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

        1.2.3 คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีนโยบายสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่แสดงถึงหลักการและแนวทางในการดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร

        1.2.4 คณะกรรมการบริษัทจะกำกับดูแลให้มีการสื่อสาร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเข้าใจ  มีกลไกเพียงพอที่เอื้อให้มีการปฏิบัติจริงตามนโยบายข้างต้น
                  ติดตามผลการปฏิบัติและทบทวนนโยบายและการปฏิบัติเป็นประจำ
1.3 คณะกรรมการบริษัทจะดูแลให้กรรมการและผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบระมัดระวัง (Duty of Care) ซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร (Duty of Loyalty) และต้องดูแลให้การ
       ดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และนโยบายหรือแนวทางของบริษัทฯ ที่ได้กำหนดไว้
        1.3.1 ในการพิจารณาว่ากรรมการและผู้บริหารได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กรแล้วหรือไม่นั้น อย่างน้อยคณะกรรมการบริษัท
                  จะพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/9 และมาตรา 89/10 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
                  (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งมีรายละเอียดปรากฏตามภาคผนวก
        1.3.2 คณะกรรมการบริษัทจะดูแลให้บริษัทมีระบบหรือกลไกอย่างเพียงพอที่จะมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ
                  มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนนโยบายหรือแนวทางที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งมีกระบวนการอนุมัติการดำเนินงานที่สำคัญเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยการดำเนินงาน
                  ที่สำคัญข้างต้น มีตัวอย่างเช่น การอนุมัติธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ การทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน การได้มา/จำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน การจ่าย
                  เงินปันผล เป็นต้น
1.4 คณะกรรมการบริษัทจะทำความเข้าใจขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและกำหนดขอบเขตการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้คณะกรรมการ
       ชุดย่อย ประธานกรรมการผู้จัดการ (President) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน ตลอดจนติดตามดูแลให้คณะกรรมการชุดย่อย
       ประธานกรรมการผู้จัดการ (President) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และฝ่ายจัดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
       1.4.1 คณะกรรมการบริษัทได้จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการบริษัท (Board Charter) ที่ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท เพื่อใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่
                 ของกรรมการทุกคน และกำหนดให้มีการทบทวนกฎบัตรดังกล่าวเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งทบทวนการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะกรรมการบริษัท
                 คณะกรรมการชุดย่อย ประธานกรรมการผู้จัดการ (President) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และฝ่ายจัดการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

       1.4.2 คณะกรรมการบริษัทจะทำความเข้าใจขอบเขตหน้าที่ของตน และมอบหมายอำนาจการจัดการกิจการให้แก่ฝ่ายจัดการเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ กรอบอำนาจอนุมัติ
                 (Delegation of Authority) อย่างไรก็ดี การมอบหมายดังกล่าวมิได้เป็นการปลดเปลื้องหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทจะยังคง
                 ติดตามดูแลฝ่ายจัดการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

                 ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย ประธานกรรมการผู้จัดการ (President) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และฝ่ายจัดการ
                 อาจพิจารณาแบ่งออกเป็น ดังนี้

                      (1) เรื่องที่จะดูแลให้มีการดำเนินการ เป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบหลักให้มีการดำเนินการอย่างเหมาะสม โดยคณะกรรมการบริษัทอาจมอบหมายให้
                            ฝ่ายจัดการเป็นผู้เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาได้ ประกอบด้วย
                            ก. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจ
                            ข. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรมรวมทั้งประพฤติตนเป็นต้นแบบ
                            ค. การดูแลโครงสร้างและการปฏิบัติของคณะกรรมการบริษัท ให้เหมาะสมต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

 

รายงานภายใต้การกำกับดูแลกิจการ และเอกสารดาวน์โหลด

นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบายบริหารความเสี่ยง

นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

          บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด และบริษัทย่อย (“บริษัท”) ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้กรอบของธรรมาภิบาลที่ดีมีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ในการนี้ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการรับข้อร้องเรียนเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คำนิยาม

กรรมการ” หมายถึง กรรมการบริษัท

พนักงาน” หมายถึง ผู้บริหาร พนักงาน พนักงานสัญญาจ้าง และลูกจ้างของบริษัท

ระเบียบ” หมายถึง ระเบียบ ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีผลใช้บังคับ

การประพฤติผิด” หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหัวข้อ “ขอบเขตของเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส” หรือการกระทำใด ๆ ในลักษณะอย่างเดียวกัน

การทุจริต” หมายถึง การกระทำใด ๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

วัตถุประสงค์หลัก

      1)   เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียน การแจ้งเบาะแสการทุจริต การประพฤติมิชอบ และการปฏิบัติที่ขัดต่อระเบียบของบริษัท มีแบบแผนที่
            เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และ เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

      2)   เพื่อให้กรรมการ พนักงาน และบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนบริษัท ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยสอดคล้องกับ
            กฎหมาย การกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจ รวมทั้งระเบียบต่าง ๆ ของบริษัท

      3)  เพื่อให้ผู้ที่ต้องการแจ้งถึงการปฏิบัติงานของกรรมการ พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนบริษัทที่ขัดหรือสงสัยว่าจะขัดต่อเรื่องดังกล่าวข้างต้นให้
            บริษัททราบ โดยผ่านช่องทางการแจ้งต่าง ๆ ที่บริษัทจัดเตรียมให้

      4)  เพื่อให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและบุคคลใดที่ให้ความร่วมมือกับบริษัทด้วยความสุจริตใจได้รับความคุ้มครอง รวมถึงได้รับการป้องกันจากการถูกกลั่นแกล้ง
           อันเนื่องมาจากการร้องเรียนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

ขอบเขตของเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส

      1)  กรรมการ พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนบริษัท อาจถูกร้องเรียนตามนโยบายนี้ หากมีการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบ
           ของบริษัท รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของบริษัท เช่น นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัท
           ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่การใช้กลไกตามนโยบายฉบับนี้อาจครอบคลุมการประพฤติผิดในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น เหตุการณ์ดังต่อไปนี้

           * การกระทำความผิดทางอาญา หรือการยุยงส่งเสริมให้กระทำความผิด

           * การทุจริตที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยทางตรงหรือทางอ้อม

           * การกระทำที่สุ่มเสี่ยงใด ๆ ซึ่งรวมถึงการทุจริต การให้สินบน และการขู่กรรโชก

           * การไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

           * การกระทำความประพฤติ หรือการละเว้นการกระทำในทางบัญชี รายงาน บันทึก รายการ และแนวทางปฏิบัติ และ/หรือการรายงานทางการเงิน
              หรือการควบคุม ภายในที่มีพิรุธ หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือแนวทางการปฏิบัติทั่วไป

           * เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือความปลอดภัยของบุคคลใด

           * เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

           * การกระทำที่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง หรือผิดหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท

           * การกระทำโดยเจตนาให้บริษัทเสียหาย เสียชื่อเสียง หรือเสียประโยชน์

           * กรณีที่ไม่สามารถแก้ไข หรือดำเนินการตามขั้นตอนอันสมเหตุผลในเรื่องที่อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่าย หรือความเสียหายร้ายแรงต่อบริษัท โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

           * การปิดบังการกระทำความผิดประเภทต่าง ๆ ข้างต้นโดยเจตนา
      2)  บริษัทส่งเสริมให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเปิดเผยตัวตน (เฉพาะกับหน่วยรับแจ้งเรื่องร้องเรียน) และ/หรือให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ เกี่ยวกับการประพฤติ
           ผิด โดยผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครองตามหัวข้อ “การให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

           บุคคลใดที่ทราบเรื่องร้องเรียน หรือสงสัยโดยสุจริต ไม่ว่าตนเองจะได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตามว่า กรรมการ พนักงาน หรือบุคคลใด ๆ ที่กระทำการแทนบริษัท
           มีการประพฤติผิด สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือเบาะแสได้ตามช่องทางที่ระบุไว้ในหัวข้อ “ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส
           โดยบริษัทส่งเสริมให้ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส เปิดเผยตัวตน และ/หรือ ให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนมากพอเกี่ยวกับการประพฤติผิดของผู้ถูกร้องเรียน
           และควรแจ้ง ข้อมูลในการติดต่อกลับเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารกับบริษัท

การรายงานข้อมูลที่เป็นเท็จ

      กรณีที่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอว่า ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนมีพฤติการณ์ชัดแจ้งว่าได้แจ้งหรือกล่าวหา ผู้ถูกร้องเรียนโดยไม่สุจริต (เช่น เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการร้องทุกข์ส่วนตัว หรือมีเจตนาทำให้เกิด ความแตกแยกภายในบริษัท) หรือในกรณีการเปิดเผยข้อมูลเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การกระทำดังกล่าวจะถือเป็นความผิดทางวินัย และอาจถือเป็นการกระทำผิดร้ายแรง บริษัทจะจัดให้มีการดำเนินการสอบสวนเพื่อพิจารณาลงโทษตามระเบียบของบริษัทต่อไป โดยบริษัทจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปกป้องชื่อเสียงของผู้ถูกร้องเรียน ดังนี้
      1)  ในกรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสเป็นพนักงาน ให้ดำเนินการสอบสวนเพื่อพิจารณา ลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท
      2)  ในกรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสเป็นบุคคลภายนอก และบริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทอาจพิจารณาดำเนินคดีกับผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนด้วย

การให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

      1)  ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายกับตนเอง แต่ต้องระบุรายละเอียด
           ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ ที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการประพฤติผิดเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม หากเลือกที่จะเปิดเผยตนเองก็จะทำให้
           ผู้รับเรื่องร้องเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
      2)  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียน บริษัทถือเป็นความลับและจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึง ความปลอดภัย และความเสียหายของผู้รายงานแหล่งที่มา
ของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
      3)  กรณีที่ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อน เสียหายผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการ
           คุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือ บริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความ
           เสียหายหรือความไม่ปลอดภัย
      4)  กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทที่ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิด
           ความเสียหายต่อบุคคลนั้น อันมีเหตุจูงใจมาจากการที่บุคคลได้ร้องเรียน ได้แจ้งข้อมูลร้องเรียนหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการประพฤติผิด รวมไปถึงการที่
           บุคคลนั้นฟ้องร้อง ดำเนินคดี เป็นพยาน ให้ถ้อยคำ หรือ ให้ความร่วมมือใดๆ ต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นนั้นการกระทำความผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ
           ทั้งนี้อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้หากการ กระทำความผิดตามกฎหมาย
      5)  ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ
           และ/หรือคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณา

กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส

       เมื่อมีการร้องเรียนตามช่องทางที่กำหนดในหัวข้อ “ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส” หากคณะกรรมการตรวจสอบตรวจสอบแล้วพบว่าเรื่องร้องเรียนเป็นความจริง คณะกรรมการตรวจสอบจะดำเนินการดังต่อไปนี้
      1)  ในกรณีที่เป็นการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการประพฤติผิด ให้คณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณาเสนอเรื่องร้องเรียนดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อ
           คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาต่อไป

 

           ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งความคืบหน้าและผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการประพฤติผิดให้กับผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนที่ได้เปิดเผยชื่อ ที่อยู่
           หมายเลขโทรศัพท์ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ไว้ อย่างไรก็ตามในบางครั้งด้วยเหตุผลความ จำเป็นในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล
           และรักษาความลับบริษัทอาจไม่สามารถให้ข้อมูลใน รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบสวนได้

 

      2)  ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งกับนโยบายในการ
           ดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น ให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเสนอเรื่องดังกล่าวพร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท
           เพื่อพิจารณาต่อไป
      3)  ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบ นำเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับ
           ผู้เสียหายตามที่เห็นสมควร เป็นกรณีๆ ไป ต่อคณะกรรมการบริษัท
      4)  การพิจารณาจะเริ่มดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยคำนึงถึงลักษณะความร้ายแรงของข้อกล่าวหา/ข้อร้องเรียน และจะดำเนินการด้วยความ
           ระมัดระวังเพื่อที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและรายละเอียดของการสอบสวน การตรวจสอบขั้นต้นจะค้นหาข้อสรุปของการไต่สวน และจะดำเนินการ
           ภายใน 1 (หนึ่ง) เดือน นับแต่วันที่ได้รับข้อกล่าวหา/ข้อร้องเรียน

ช่องทางในการแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส

       ผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเอกสารลับ ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
     

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

ติดต่อ:   ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

E-mail:   comsec@aasautoservice.com

จดหมายส่งทางไปรษณีย์

ติดต่อ:   ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

ที่อยู่:     36/9, 36/16-18 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210

เว็บไซต์ของบริษัท

เว็บไซต์: www.aasautoservice.com

Sent Successfully!

Thank you.

We will contact you shortly!